วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคซึมเศร้า

          ในโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่คนเราสนทนากันผ่านตัวอักษร มากกว่าการเผชิญหน้ากัน ทำให้มีคนบางคนเกิดอาการเหงา ซึมเศร้า ซึ่งนานๆไปมันก็อาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากการคุนผ่านตัวอักษรนั้น ทำให้ความรู้สึกบางอย่างมันขาดหาย ผู้เขียนเองก็เหมือนกัน แม้ว่าตอนที่อยู่กับผู้คนมากมาย ผู้เขียนอาจจะดูเฮฮา แต่เมื่ออยู่คนเดียวแล้ว ผู้เขียนกลับรู้สึกเหงา เศร้า ขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ ท่านใดที่รู้สึกเหมือนผู้เขียน เรามาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแบบนี้กันเถอะ

โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชที่ต้องรีบรักษา
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://wm.thaibuffer.com/o/u/narongsak/Health/info-_02_4.png

โรคซึมเศร้าคืออะไร
                     โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล จึงต้องได้รับการรักษาโดยเร็วด้วยการปรึกษาจิตแพทย์


สาเหตุของโรคซึมเศร้า
 

          โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองชื่อ เซโรโทนิน(Serotonin) มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้ายบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง 
          ทั้งนี้ สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้ามาจากหลายปัจจัย ทั้งจากด้านกรรมพันธุ์ พัฒนาการของจิตใจ และสิ่งแวดล้อมที่เผชิญ เช่น ประสบกับความเครียดหนัก ๆ เจอมรสุมชีวิต เจ็บป่วยเรื้อรังจนหมดกำลังใจ พบกับความสูญเสียในชีวิต เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก สูญเสียคนรัก ครอบครัว ตกงาน ปัญหาเรื่องการเงิน ต้องย้ายบ้านกะทันหัน ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น และหากเจอกับเหตุการณ์หรือความรู้สึกเหล่านั้นบ่อย ๆ ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://health.kapook.com/view3241.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น